วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

ความสำคัญของวัยวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่ง เดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจน ปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็น ต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น " วันสำคัญสากลนานาชาติ ( International Day ) " หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน





กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันวิสาขบูชา

ใน วันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกจะมารวมกันจัดพิธีทำบุญใหญ่หรือจัด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญกุศลระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่ง ในฐานะที่วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อถึงวันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย เช่น สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะ มีการอัญเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ (ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเป็นการถาวร มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการะบูชา เป็นต้น

สำหรับ ในประเทศไทย นอกจากพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศลถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังนิยมปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย

วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน ( ปล่อยนกปล่อยปลา ) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น

โดย ก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวัน วิสาขบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ ( โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน ) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันวิสาขบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด ( ทั้งบาลีและคำแปล ) ตามลำดับดังนี้

1. บทบูชาพระรัตนตรัย ( บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ )

2. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ( นะโม ฯลฯ ๓ จบ )

3. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ( บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ )

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ ( บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ )

5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ( บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ )

6. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ )

7. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ ( บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ )

8. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ ( บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ )

9. บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา ( บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข ฯลฯ )

จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี


หลักธรรมในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเหตุการณ์เหล่านั้น คติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะ อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา ความ ที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฏเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้

สำหรับหลักธรรมคติเทียบเคียงกับเหตุการณ์ทั้ง 3 ที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้ 3 อย่าง คือ

1. ความกตัญญู

ในเหตุการณ์วันประสูติ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "หลักความกตัญญู" เพราะในพระพุทธประวัติ แม้พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะจะสิ้นพระชนม์ไปหลังที่เจ้าชายประสูติได้เพียง 7 วัน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงสเทวโลก ถึงแม้พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ เป็นพระราชบิดา พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดถึงพระราชวังที่ประทับ จนพระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนักใกล้สวรรคต พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปโปรดจนพระราชบิดาได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และนิพพานในพระราชวังในวันนั้นเอง

ซึ่งในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา และผู้มีอุปการะก่อนนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายพระสูตรด้วยกัน เช่นใน หลักทิศ 6 เป็น ต้น ซึ่งความกตัญญูนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกับบุคคลเท่านั้น แต่รวมไปแม้กระทั่งต้นไม้ที่ให้ร่มเงาด้วย ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

" บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม "

ความ กตัญญู จึงนับได้ว่าเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างหลายเรื่องในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าพระพุทธองค์ทรง ยกย่องผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา เช่น เรื่องพระภิกษุเลี้ยงบิดามารดาในมหานิบาต เป็นต้น ซึ่งทำให้พระพุทธองค์ตรัสว่า

" นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา "

แปลว่า : " ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

กล่าว โดยสรุป เหตุการณ์ประสูตินี้เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงความกตัญญู กตเวที ที่ทุกคนควรมีในตนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

2. อริยสัจ 4

ในเหตุการณ์วันตรัสรู้ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "อริยสัจ 4" อันเป็นหลักธรรมในการแก้ปัญหาชีวิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ คือ

1. "ทุกข์" ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สภาวะที่ทนได้ยากทั้งหลาย ( ปัญหา )

2. "สมุทัย" ต้นเหตุของความทุกข์ คือกิเลสตัณหา ( ต้นเหตุของปัญหา )

3. "นิโรธ" จุดหมายที่จะดับทุกข์ คือนิพพาน ( วางเป้าหมาย )

4. "มรรค" แนวทางในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ( ลงมือแก้ไข )

3. ความไม่ประมาท

ในเหตุการณ์วันปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงตรัสปัจฉิมโอวาทไว้บทหนึ่ง อันเป็นยอดของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้ความทุกข์ร้อนใจอันเกิดจากอำนาจกิเลสเข้าครอบงำ กล่าวคือ ความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ โดยพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

" ...อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ... "

แปลว่า : " พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท เถิด "


วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา







ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เมื่อ สิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา

ธรรมมะที่สำคัญที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้

ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ ของพระเจ้าแผ่นดิน

1. ทาน การให้
2. สีล ความประพฤติ
3. ปริจจาค การบริจาค
4. อาซซว ความเที่ยงตรง
5. มททว ความละมุนละไม
6. ตป การขจัดเผาผลาญความชั่ว
7. อกโกธ ความไม่โกรธ
8. อหิงสา ความไม่เบียดเบียนกัน
9. ขนติ ความอดทน
10. อวิโรธน ความไม่ประพฤติผิดธรรม


ธรรมะ 4 ประการ ได้แก่
1.พิจารณาความชอบหรือความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์
2. รักษาพระนครและขอบฑสีมา ให้สุขเกษมโดยยุติธรรม
3. ทะนุบำรุงบุคคลผู้มีศีลธรรม
4. เพิ่มพูนพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม

พระราชจรรยานุวัตร 12ประการ คือ พระราชจรรยานุวัตรอันเป็นที่ตั้งแห่งกายยึดเหนี่ยวน้ำใจประชาชน ได้แก่
1.ควรพระราชทานโอวทและอนุเคราะห์ข้าราชการอาณาประชาราษฎรทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
2. ความทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
3. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยยศ
4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดีและคหบดีชน
5. ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนโดยสมควรแก่ฐานานุรูป
6. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ
7. ควรทรงอนุรักษ์ฝูงเนื้อและนกโดยไม่ให้ผู้ใดเบียดเบียนทำอันตรายจนสูญพันธุ์
8. ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ประกอบกิจที่ไม่ชอบด้วยความธรรม ชักนำให้ตั้งอยู่ในกุศลจิต ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9. ควรพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ขัดสนตามสมควร
10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญบาปกุศลให้ประจักษ์ชัด
11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอคนียสถาน
12. ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตประรถนาลาภที่ไม่ควรได้


หัวข้อ
ระบบการปกรองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะการปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ระบบการปกรองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และจากขอมนำมาปรับปรุงใช้ ลักษณะการปกครองสมัยนั้นแบ่งเป็น
1. การปกครองส่วนกลาง คือการปกครองภายในราชธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแบบแผน
ที่ได้รับมาเรียกว่า “จตุสดมภ์” ซึ่งประกอบด้วย
1.1 เมืองหรือเวียง มีขุนเมือง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปกครองดูแลท้องที่และราษฎร ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำความผิด
1.2 วัง มีขุนวัง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ของราษฎรด้วย
1.3 คลัง มีขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เก็บและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินอันได้จากอากร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย
1.4 นา มีขุนนา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับทหาร ออกสิทธิที่นา และมีหน้าที่เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง คือใครทำนาได้ก็ต้องแลกเอาเข้ามาส่งฉางหลวง
2. การปกครองส่วนภูมิภาค คือการปกครองพระราชอาณาเขต กรุงศรีอยุธยาได้แบบแผนมาจากครั้งกรุงสุโขทัย โดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่


2.1 หัวเมืองชั้นใน มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ เรียกว่า เมืองลูกหลวง ซึ่งอยู่ห่างจากราชธานี เป็นระยะทางเดิน 2 วัน
ทิศเหนือ คือ เมืองลพบุรี
ทิศใต้ คือ เมืองพระประแดง
ทิศตะวันออก คือ เมืองนครนายก
ทิศตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรี
นอก จากนั้น ยังมีหัวเมืองชั้นในตามรายทางที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูกหลวง เช่น เมืองปราจีน เมืองพระรถ(เมืองพนัสนิคม) เมืองชลบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เป็นต้น และถ้าเมืองใดเป็นเมืองสำคัญก็จะส่งเจ้านายจากราชวงศ์ออกไปครอง


2.2 เมืองพระยามหานคร หรือหัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ห่างจากหัวเมืองชั้นในออกไป
ทิศตะวันออก คือ เมืองโคราชบุรี(นครราชสีมา) เมืองจันทบุรี
ทิศใต้ คือ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองถลาง
ทิศตะวันตก คือ เมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย เมืองเชียงกราน


2.3 เมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สันนิษฐานว่า คงจะมีแต่เมืองมะละกากับเมืองยะโฮร์ทางเแหลมมลายูเท่านั้น ส่วนกัมพูชานั้นต้องปราบกันอีกหลายครั้ง จึงจะได้ไว้ในครอบครอง และในระยะหลังต่อมาสุโขทัยก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วย
เมืองประเทศราช มีเจ้านายของตนปกครองตามจารีตประเพณีของตน แต่ต้องกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้ง

ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะ การตั้งกฎหมายในตอนแรกๆ นั้นทำเป็นหมายประกาศอย่างละเอียด ขึ้นต้นบอกวัน เดือน ปี ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ใครเป็นผู้กราบบังคมทูลคดีอันเป็นเหตุให้ตรากฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินยืดยาวเกินไป จึงตัดข้อความที่ไม่ต้องการออก แต่ต่อๆ มา กฎหมายมีมากขึ้น ก็ยากแก่การค้นห้า จึงตัดข้อความลงอีก ซึ่งพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาสอนให้ทำ อนุโลมตามแบบพระมนูธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายของอินเดีย เช่น ลักษณะโจร ลักษณะผัวเมีย
กฎหมายสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ในระหว่าง พ.ศ. 1894-1910 ได้มีการพิจารณาตรากฎหมายขึ้นทั้งหมด 10 ฉบับ คือ
1. กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894
2. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1895
3. กฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899
4. กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ. 1899
5. กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ. 1901
6. กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. 1903
7. กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พ.ศ. 1903
8. กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904
9. กฎหมายลักษณะผัวเมีย(เพิ่มเติม) พ.ศ. 1905
10. กฎหมายลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร พ.ศ. 1910


ตัวอย่างกฎหมาย

กฎหมาย ลักษณะลักพา มีอยู่บทหนึ่งว่าด้วยเรื่องทาส ดังนี้ ผู้ใดลักพาข้าคนท่านขายให้แก่คนต่างประเทศ คนต่างเมือง ฯลฯ พิจารณาเป็นสัจ ท่านให้ฆ่าผู้ร้ายนั้นเสีย ส่วนชาวต่างประเทศนั้นให้เกาะจำไว้ฉันไหมโจร
แต่ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยเป็นมิตรกันนั้น มีผู้ลักพาทาสในกรุงศรีอยุธยาหนีขึ้นไปเมืองเหนือ พวกเจ้าเงินกราบทูลพระเจ้าอู่ทองขอให้ไปติดตามเอาทาสกลับมา แต่พระเจ้าอู่ทองกลับมีพระราชดำรัสให้ว่ากล่าวเอาแก่ผู้ขายนายประกันเท่า นั้น กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยนั้น ชายมีภรรยาได้หลายคน และกฎหมายก็ยอมรับ กฎหมายจึงแบ่งภรรยาออกเป็น

1. หญิงอันบิดามารดากุมมือให้ไปเป็นเมียชาย ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางเมือง (เมียหลวง)
2. ชายขอหญิงมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหลั่นเมียหลวงลงมา ได้ชื่อว่าเมียกลางนอก
3. หญิงใดทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่ได้มาเห็นหมดหน้า เลี้ยงเป็นเมียได้ชื่อว่า เมียกลางทาสี

การศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพากของชาวนา

ลักษณะการปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะการปกครองกรุง ศรีอยุธยาในระยะนี้ ยังคงใช้ระบบการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นหลัก จนกระทั่งถึงสมัยพระเพทราชา ซึ่งเป็นสมัยที่บ้านเมืองไม่สงบเกิดกบฎขึ้นบ่อยครั้ง เพราะทหารมีอำนาจมากในขณะนั้น และอำนาจทางทหารตกอยู่ในความควบคุมของสมุหกลาโหมแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช สมุหกลาโหมเป็นกบฎแย่งชิงราชสมบัติและตั้งตัวเป็นกษัตริย์คือ พระเจ้าปราสาททอง เป็นต้น จึงทำให้สมเด็จพระเทพราชาหวาดระแวงพระทัย เกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ พระองค์ตัดสินใจจัดระบบการปกครองใหม่เป็นบางส่วนดังนี้

สมุหกลาโหม แต่เติมเคยควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ ให้เปลี่ยนมาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายใต้

สมุหนายก เดิมเคยควบคุมเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ให้เปลี่ยนมาควบคุมผู้บังคับบัญชาทั้งทางทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ใน กรณีที่เกิดสงคราม ในหัวเมืองฝ่ายใด ผู้บังคับบัญชาการหัวเมืองฝ่ายนั้นต้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ดำเนินการต่อสู้ โดยเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเตรียมทหารและเสบียงอาหาร เป็นต้น

การ ที่เปลี่ยนจากระบบมีอำนาจเต็มทางทหารแต่ฝ่ายเดียวของสมุหกลาโหม มาเป็นระบบแบ่งอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้สมุหนายกและสมุหกลาโหมควบคุมและแข่งขันกันทำราชการไปในตัว


การ ปกครองของเมืองหลวงยังคงใช้ระบบการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างก็เฉพาะหัวเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่านั้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงสร้างหัวเมืองชั้นในขึ้นอีกหลายเมือง ได้แก่ นนทบุรี นครชัยศรี ฉะเชิงเทรา สาครบุรี และสระบุรี ทำให้อาณาเขตราชธานีขยายกว้างออกไปอีก ส่วนหัวเมืองประเทศราชนั้นไม่แน่นอน ถ้าสมัยใดพระมหากษัตริย์มีอำนาจก็จะมีเมืองขึ้นหลายเมือง ถ้าอ่อนแอเมืองขึ้นต่างๆ ก็จะแข็งเมืองไม่อยู่ในอำนาจต่อไป
การปกครองท้องถิ่นก็ยังคงใช้แบบเดียวกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

การทหาร
ใน สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระองค์ทรงเห็นข้อบกพร่องในทางการทหาร จึงจัดระเบียบและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์ทรงดำเนินการปรับปรุง ดังนี้

๑. ทำสารบัญชี โดยการตั้งเป็นกรม แบ่งงานออกเป็น
๑.๑ สุรัสวดีกลาง
๑.๒ สุรัสวดีขวา
๑.๓ สุรัสวดีซ้าย

๒. มีการแต่งตำรายุทธพิชัยสงคราม เพื่อใช้เป็นหลักในการทำสงครามให้ถูกยุทธวิธี ซึ่งเป็นตำราที่ใช้ยึดเป็นหลักปฏิบัติกันมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ชายฉกรรจ์ ที่มีสัญชาติไทย มีหน้าที่ดังนี้

1. เมื่ออายุได้ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่สม ต่อเมื่ออายุ 20 ปี จึงจะรับราชการเป็นไพร่หลวง และอยู่ในราชการจนกว่าจะอายุครบ 60 ปี จึงจะถูกปลด แต่ถ้ามีบุตรชายและส่งเข้ารับราชการ 3 คน ให้บิดาพ้นราชการได้

2. ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องมีสังกัดอยู่ในกรมใดกรมหนึ่ง ลูกหลานผู้สืบสกุลต้องอยู่ในสังกัดเดียวกัน ถ้าจะย้ายสังกัดต้องขออนุญาตก่อน

3. ในเวลาที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไพร่หลวงจะต้องเข้าประจำการปีละ 6 เดือน เรียกว่า เข้าเวร และจะต้องหาเสบียงของตนเองมาด้วย การเข้าเวรนี้จะเข้าเวร 1 เดือน แล้วออกเวรไปทำมาหากิน 1 เดือนแล้วจึงกลับมาเข้าเวรใหม่ สลับกันจนครบกำหนด

4. หัวเมืองชั้นนอก ที่อยู่ห่างไกลในยามปกติ ไม่ต้องการคนเข้ารับราชการมากเหมือนในราชธานี จึงใช้วิธีเกณฑ์ส่วนแทนการเข้าเวร โดยการนำของที่ทางราชการต้องการ เช่น ดินประสิว แร่ดีบุก ฯลฯ มาให้กับทางราชการแทนการเข้าเวร







วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com

การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช


มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก

ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์

อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย

แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ

ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981



การปกครองก่อนสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย





ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน

ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน

ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ

การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ

ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปก

ครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการ

ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประ

เทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ

ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลาย

ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็น

เมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน

เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของ

ไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่า

ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดิน

สมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้

เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูก

ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป





การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้

พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่ม

เย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ

เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะ

ใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้

วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ





การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง

หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา

จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูก

ฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนด

ความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่ง

ที่หวังได้โดยยาก

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

wElcoMe!!


Hi..............!!!




เข้ามาก็แอดกันน่ะ

**๕๕๕๕๕๕


กินข้าวด้ว ยย

เอิ๊กๆๆ